คู่มือวิธีการใช้งานและการบำรุงรักษา PRESSURE DIAPHRAGM TANK

คู่มือดูแลถังแรงดัน

ประโยชน์ของถังแรงดัน HYDROLINE PRESSURE DIAPHRAGM TANK พร้อม คู่มือดูแลถังแรงดัน PRESSURE DIAPHRAGM TANK

ประโยชน์ของถังแรงดัน HYDROLINE PRESSURE DIAPHRAGM TANK มีอะไรบ้างที่คุณควรรู้และทำความเข้าใจ วันนี้พี่แทงค์มาแชร์ข้อมูลที่มีความจำเป็นต่อการใช้งานเกี่ยวกับถังแรงดัน ด้วย คู่มือดูแลถังแรงดัน PRESSURE DIAPHRAGM TANK ครับ

HYDROLINE PRESSURE DIAPHRAGM TANK

  1. เพื่อช่วยหน่วงการทำงานของเครื่องสูบน้ำ (Start-Stop) ให้มีระยะเวลาที่นานขึ้น มีผลทำให้เครื่องสูบน้ำและระบบ Booster Pump มีอายุการใช้งานได้นานขึ้นเช่นกัน (ช่วยลดพลังงาน,ลดค่าใช้จ่าย.ลดการสึกหรอ)
  2. เพื่อช่วยลดแรงกระแทกที่เกิดขึ้นในระบบท่อ

ตำแหน่งการติดตั้ง

  1. ติดตั้งถังอยู่ใกล้ปั๊ม เป็นแบบที่เลือกใช้มากที่สุด เพราะสามารถควบคุมดูแลได้ง่าย และสะดวกต่อการบำรุงรักษา
  2. ติดตั้งตรงกลางหรือส่วนปลายท่อ ในกรณีที่แรงดันใช้งานต้นทางสูงกว่าแรงดันสูงสุดของถังแรงดันที่สามารถรับได้
  3. ติดตั้งใกล้กับส่วนที่ระบบเกิดการ Shock เพื่อควบคุมการกระแทกหรือการเปลี่ยนแปลงความดันในระบบอย่างรวดเร็ว หรือเพื่อป้องกันการเกิดแรงดันย้อนกลับ,เพื่อป้องกันอุปกรณ์ในระบบเกิดความเสียหาย เช่น เช็ควาล์ว,โซลีนอยด์วาล์ว,มิกซิ่งวาล์ว,มิเตอร์,ปั๊ม และท่อ

ระยะเวลาในการตรวจเช็ค

  1. เช็คการทำงานของ Booster Pump ทำงานผิดปกติหรือไม่ ทุกสัปดาห์
  2. ตรวจเช็คลมใน Pressure Tank ทุกๆ 6 เดือน

อาการเสียและการแก้ไข

ตารางอาการเสียและการแก้ไข

วิธีปฏิบัติและขั้นตอนในการเช็คลมในถัง

  1. เช็คการ Start-Stop ของระบบว่าปั๊มเดินที่แรงดันเท่าไหร่ และปั๊มหยุดแรงดันเท่าไหร่
  2. ปิดวาล์ว N0.1 แล้วเปิดวาล์ว N0.2 เพื่อระบายน้ำในถังแรงดันออกจนหมด
  3. ใช้เครื่องมือวัดลมยางรถยนต์ทั่วไป วัดลมในถังที่จุ๊บเติมลม No.3
  4. ถ้าค่าที่อ่านจากเครื่องมือวัดลมยาง อ่านได้น้อยกว่าจุด Start มากๆ ให้เติมลมเพิ่มเข้าไป แต่ถ้ามีมากกว่าจุด Start ให้เอาลมออก
  5. เมื่อเติมลมถูกต้องแล้วให้ปิดวาล์ว 2 และ เปิดวาล์ว 1 ตามลำดับ
  6. ดูข้อมูลจาก คู่มือดูแลถังแรงดัน

หมายเหตุ

  • ถ้ามีน้ำออกมามากและต่อเนื่องจากลูกศรในขณะที่กด ให้สันนิษฐานว่ายางไดอะแฟรมรั่วชำรุด
  • ถ้ากดแล้วมีลมออกมานิดหน่อย วัดลม แล้วอ่านค่าและจดบันทึกลมใน Pressure Tank จากเครื่องวัด ย้อนดูขั้นตอน

ตัวอย่าง

สมมุติว่าปั๊มในระบบเดินที่ 40 PSI และหยุดที่ 55 PSI ลมในถังแรงดัน (Precharge Pressure) คือ น้อยกว่าหรือเท่ากับจุด Start หรือ น้อยกว่า 10% ของจุด Start

จากตัวอย่าง จุด Start ของปั๊มที่ 40 PSI

ดังนั้น ลมในถังจะต้องมี = 40 PSI หรือ น้อยกว่า 10% ของจุด Start = 36 PSI

ข้อควรระวัง

  1. ถ้ามีลมในถังแรงดันมากกว่าจุด Start มาก จะทำให้ปั๊มไม่สามารถอัดน้ำเข้าในถังได้
  2. ถ้าลมในถังแรงดันมีมากกว่าจุด Start และ Stop ของปั๊มมากเกินไป จะทำให้ระบบการ Start-Stop กระชากอย่างรุนแรง

 

dwg hydroline