ตู้ควบคุมเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (FIRE PUMP CONTROLLER)

ตู้ควบคุมเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (FIRE PUMP CONTROLLER)

สวัสดีครับ บทความในวันนี้ที่พี่แทงค์อยากนำมาเสนอ วันนี้จะเป็นบทความเกี่ยวกับ ตู้ควบคุมเครื่องสูบน้ำดับเพลิง(FIRE PUMP CONTROLLER) ที่คิดว่าพอจะเป็นประโยชน์ให้กับทางผู้รับข้อมูลได้ศึกษากัน มาทำความรู้จักไปพร้อมกันครับ

มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง โดยมีหน้าที่สั่งงานให้เครื่องสูบน้ำดับเพลิง ทำงานโดยอัตโนมัติและแสดงสถานะการทำงานของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงพร้อมสัญญาณเตือนเมื่อเกิดปัญหาต่างๆ โดยระบบควบคุมการสั่งงานของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง มีทั้งแบบตู้ควบคุมชนิดขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า และตู้ควบคุมชนิดขับด้วยเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งในกรณีที่เป็นตู้ควบคุม เครื่องสูบน้ำชนิดขับด้วยเครื่องยนต์ดีเซลจะมีอุปกรณ์ภายในตู้ควบคุมมากกว่าชนิดขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า

อุปกรณ์ภายในตู้ควบคุมเครื่องสูบน้ำดับเพลิงชนิดขับด้วยเครื่องยนต์ดีเซล

1. BATTERY CHARGER ที่อยู่ภายในตู้ควบคุม จำนวน 2 ชุด ทำหน้าที่ชาร์ทไฟแบตเตอรี่ลูกที่ 1 และลูกที่ 2 โดยอาศัยกำลังไฟฟ้า 220 VAC ที่จ่ายมาที่ตู้ควบคุมเป็นตัวชาร์ทไฟกระทำการผ่านตัวแบตเตอรี่ชาร์จเจอร์ที่อยู่ในตู้ควบคุมส่งผ่านไปยังแบตเตอรี่แต่ละลูก และยังแสดงถึงสถานะของแบตเตอรี่ได้อีกว่ากำลังไฟอยู่ในสถานะใด

2. SOLENOID VALVE มีหน้าที่สำหรับ TEST FIRE PUMP โดยสั่งงานจากตู้ควบคุม โดยกดปุ่ม TEST SOLENOID VALVE จะเปิดทำให้น้ำในระบบไหลออก และทำให้ความดันในเส้นท่อต่ำลงทำให้เครื่องสูบน้ำดับเพลิงสตาร์ทเองโดยอัตโนมัติ

3. PRESSURE SWITCH ทำหน้าที่ส่งสัญญาณตามค่าที่ตั้งไว้ เพื่อให้ตู้ควบคุมทำงานสั่งให้เครื่องยนต์สตาร์ท

4. LAMP หลอดไฟแสดงสถานะการทำงานของตู้ควบคุม

  • 4.1 CHARGER MAIN FUNCTION กรณีที่ระบบชาร์จเจอร์มีปัญหา ไม่จ่ายไฟชาร์ทแบตเตอรี่ชุดชาร์จเจอร์จะโชว์หลอด LEDสีแดง พร้อมกับหลอดไฟสีแดงที่ตู้ควบคุมการทำงานจะติดพร้อมเสียงสัญญาณเตือน การแก้ไข ทำโดยการตรวจเช็คไฟ 220 VAC. ที่จ่ายเข้ามาที่ตู้คอนโทรลและไฟจากแบตเตอรี่มาที่ตู้คอนโทรล 12 VDC.
  • 4.2 HIGH WATER TEMPERATURE แสดงว่า อุณหภูมิน้ำหล่อเย็นภายในเครื่องสูบมีอุณหภูมิสูงเกิน 100C° ตู้คอนโทรลจะแสดงสัญญาณไฟพร้อมเสียงสัญญาณเตือนให้ทำการตรวจสอบว่าเครื่องสูบน้ำนั้นสูบน้ำขึ้นหรือไม่ มีการไหล DRAIN ของน้ำจาก HEAT EXCHANGER หรือไม่ และระบบน้ำหล่อเย็นในเครื่องยนต์ว่าต่ำหรือไม่

4.3 LOW OIL PRESSURE ไฟสัญญาณแรงดันน้ำมันเครื่องต่ำจะโชว์ให้สตาร์ทเครื่องยนต์ เมื่อเครื่องยนต์ติดหลอด LOW OIL PRESSURE ก็จะดับลง ซึ่งแสดงว่ามีแรงดันอยู่ประมาณ 60 – 75 PSI. ถ้าหลอดLOW OIL PRESSURE ยังไม่ดับให้ทำการตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่องขึ้นมาดูว่าอยู่ระดับต่ำกว่าที่กำหนดหรือไม่

4.4 BATTERY 1# TROUBLE แสดงว่า แบตเตอรี่มีปัญหาในการจ่ายไฟไปเลี้ยงยังตู้คอนโทรล การแก้ไขให้ทำการกดปุ่ม RESET BATTERY ถ้าหลอดไฟดับถือว่าเป็นปกติ แต่ถ้าหลอดไฟยังไม่ดับต้องทำการตรวจสอบชุดชาร์จเจอร์ว่า สามารถชาร์ทไฟเข้าไปยังแบตเตอรี่ได้หรือไม่

4.5 BATTERY 2# TROUBLE แสดงผลเช่นเดียวกับ BATTERY 1# TROUBLE ใช้วิธีการแก้เช่นเดียวกัน

4.6 OVERSPEED แสดงว่า เครื่องยนต์มีความเร็วรอบสูงกว่าที่กำหนดไว้ การแก้ไข คือ กดปุ่ม RESET OVERSPEED ถ้าหลอดไฟไม่ดับ ให้แจ้งบริษัทตัวแทนจำหน่ายให้ดำเนินการแก้ไขต่อไป

4.7 FAILET TO START แสดงว่า ตู้คอนโทรลทำการสตาร์ทเครื่องยนต์ด้วยแบตเตอรี่ทั้ง 2 ลูก มีปัญหาไม่สามารถสตาร์ทเครื่องยนต์ได้ การแก้ไขในเบื้องต้นให้ทำการตรวจเช็คแบตเตอรี่ทั้ง 2 ลูกและ RELAY START ว่าชำรุดหรือไม่ ถ้าเป็นปกติดีก็ต้องทำการตรวจเช็คตู้คอนโทรล โดยให้ท่านทำการแจ้งไปยังบริษัทตัวแทนจำหน่ายให้มาดำเนินการซ่อมแซมให้ท่าน

สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับตู้ควบคุมเครื่องสูบน้ำดับเพลิงในข้างต้นที่พี่แทงค์ได้นำเสนอไว้ หวังว่าจะพอเป็นประโยชน์ให้กับผู้ที่สนใจ ได้นำไปเรียนรู้และศึกษาเพื่อนำไปต่อยอดกันนะครับ หากมีข้อมูลที่สงสัยและต้องการสอบถามเพิ่มเติม สามารถติดต่อทีมงานบริการหลังการขายได้ตลอดในวันและเวลาทำการ ทางเรามีเจ้าหน้าที่คอยให้ข้อมูลแก่ลูกค้าครับ วันนี้พี่แทงค์ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านบทความดีๆ ที่นำเสนอให้วันนี้ ส่วนบทความหน้าจะมีเป็นอะไร คอยติดตามกันด้วยนะครับ