บริษัท ฮ.พัฒนารุ่งเรือง จำกัด คือผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและผลิต ถังพักลม Air Tank ภายใต้แบรนด์ “Hydroline” แต่เพียงผู้เดียว และเรายังรับผลิตถังแรงดัน Special Tank ถังไดอะแฟรม ตามขนาดที่ต้องการ สินค้าได้มาตรฐาน ตรงตามสากล พร้อมทั้งมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ จึงทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับมาตรฐาน ISO 9001 : 2015
Standard Model HYDROLINE “Air Tank ถังพักลม”
วัสดุภายนอก
- ถังพักลม ใช้เหล็กหนาพิเศษ มีความแข็งแรงขึ้น
- ใช้กักเก็บอากาศ
- ผลิตเอง ควบคุมเอง มีการรับรองมาตรฐาน
- ใช้เหล็กหนาพิเศษ มีความแข็งแรงขึ้น
- ใช้การเชื่อมข้างใน ด้วยช่างผู้เชี่ยวชาญ
- ทดสอบก่อนส่ง มีมาตรฐาน
- ผลิตได้ ทั้งแนวตั้ง และแนวนอน
- เคลือบด้วยสาร Epoxy เพื่อป้องกันสนิม
- ใช้ระบบห้องพ่นสี ที่ได้มาตรฐาน
- ทำสีอื่น ตามความต้องการขององค์กร
- สินค้าผลิตจากโรงงาน Hydroline
รูปแบบ
- ตัว Air Tank ถังพักลม มีรูปทรงเป็นแนวตั้งหรือแนวนอน และถูกขึ้นรูปด้วยความแข็งแรงได้ตามมาตรฐาน และทำการชุบเคลือบสี เคลือบด้วยสาร Epoxy เพื่อป้องกันสนิม
- สามารถใช้ได้กับน้ำทุกประเภทหรือน้ำที่มีฤทธิ์กัดกร่อนมาก
- Air Tank ถังพักลม ที่ผลิตจากโรงงาน ได้มีการแยกระหว่างอากาศและน้ำโดยสมบูรณ์
- สามารถติดตั้งปั๊มและอุปกรณ์เสริมเข้ากับตัวถังได้โดยตรง
- ประกอบได้อย่างประหยัดและรวดเร็ว
ประเภทการใช้งาน
- ติดตั้งการใช้งาน ควบคู่กับ Booster Pump ปั๊ม และอุปกรณ์เสริมต่างๆ ใช้งานกับ ที่พักอาศัย อาคารสูง หรือพื้นที่ ที่ต้องการใช้น้ำจำนวนมาก
- ระบบเสริมเพิ่มแรงดันน้ำ
- ระบบจ่ายน้ำสำหรับที่พักอาศัยและการพาณิชย์
- ระบบชลประทาน
- ระบบจ่ายน้ำดับเพลิง
- HVAC รองรับการขยายตัว
ข้อมูลแนะนำ
- การคำนวณ การกำหนดความจุของถัง ขึ้นอยู่กับแรงดันน้ำ แรงดันสะดุด และปริมาณการสำรองน้ำที่มีประสิทธิภาพ (ดูข้อมูลการคำนวณได้ที่แค็ตตาล็อก)
- ถังขนาดใหญ่จะมีปริมาณน้ำที่เก็บไว้ในระหว่างความดันสูงและต่ำมากขึ้น ซึ่งหมายความว่า คุณจะมีปริมาณน้ำเพียงพอ ก่อนที่ปั๊มจะเริ่มทำงาน ถังขนาดใหญ่ขึ้น จะช่วยให้วงจรเปิดปิดปั๊มใช้เวลานาน และทำงานได้นานขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มอายุการใช้งานของปั๊ม
- P.s = Start up pressure – (Pump Start) / P.s = Shut off pressure – (Pump Start)
- P.s = แรงดันเริ่มต้น (ปั๊มเริ่มต้นทำงาน)
- P.s = แรงดันสูงสุดที่ต้องการ เมื่อการไหลถูกหยุด (ปั๊มหยุดทำงาน)
การรับประกันสินค้า
- 1 ปี
ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเช็คและดูแลอุปกรณ์
- เช็คการ Start – Stop ของระบบปั๊มเดินว่า แรงดันอยู่ที่เท่าไหร่
- ปิดวาล์ว No.1 แล้วไปเปิดวาล์ว No.2 เพื่อระบายน้ำในถังแรงดันออกจนหมด
- หมั่นตรวจเช็คลมภายในถังแรงดันทุกๆ 3 เดือน เพื่อให้ค่าภายในถังแรงดันอยู่คงเดิม และไม่ส่งปัญหาให้กับระบบ
- ถ้าค่าที่อ่านจากเครื่องมือวัดลมยาง อ่านได้น้อยกว่าจุด Start มาก ให้ทำการเติมลมเพิ่ม แต่ถ้ามีมากกว่าจุด Start ให้ทำการเอาลมออก
- ใช้เครืองมือวัดลมยางรถยนต์ทั่วไป เพื่อวัดลมในถังตรงจุ๊บเติมลม ถ้ามีน้ำออกมาในปริมาณมากขณะที่กำลังกดอยู่ แสดงว่าไส้ยางไดอะแฟรมอาจชำรุด
- หากพบว่า เจอปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง เช่น ถังมีรอยรั่วซึม ไส้ยางแตก หรือตำแหน่งอื่นๆที่ชำรุด ควรรีบปรึกษากับ ทีมผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการแก้ไขทันที