Booster Pump ปั๊มน้ำไม่ทำงาน เกิดจากอะไร ขั้นตอนการตรวจสอบปั๊มน้ำ และวิธีการแก้ไข

ปั๊มน้ำ

เมื่อคุณพบความผิดปกติจากปั๊มน้ำที่ไม่ทำงาน และประสบปัญหาเกี่ยวกับการแก้ไข วันนี้พี่แทงค์และทีมงานขอมาแชร์ข้อมูลและเทคนิคในหัวข้อ Booster Pump ปั๊มน้ำไม่ทำงาน เกิดจากอะไร ขั้นตอนการตรวจสอบปั๊มน้ำ และวิธีการแก้ไข ปั๊มน้ำไม่ทำงาน

ปั๊มน้ำไม่ทำงาน มีสาเหตุจากอะไรบ้าง ยกตัวอย่างให้ 6 ข้อหลักๆ

  1. ระดับน้ำในถังเก็บต่ำกว่าระดับที่ตั้งไว้จะไม่สามารถทำงานได้ทั้งระบบ MANUAL และ AUTO หลอดไฟ L2 LOW LEVEL จะติดโชว์
  2. ไม่มีแรงดันไฟฟ้าจ่ายมาที่ตู้คอนโทรลหลอดไฟ L1 (POWER) ไม่มีไฟโชว์
  3. ฟิวส์คอนโทรลขาด
  4. ถ้าหลอดไฟตำแหน่งที่ L4 หรือ L6 (OVERLOAD) ติดขึ้นแสดงว่าปั๊มตัวใดตัวหนึ่งหรือตัวที่สองกินกระแสไฟเกินพิกัด
  5. ในกรณีที่มีระบบป้องกันแรงดันไฟฟ้ามาไม่ครบ 3 PHASE (PHASE PROTECTION) จะมีไฟสีแดงโชว์ตำแหน่ง UV (UNDER VOLTE) แสดงว่าแรงดันไฟฟ้าตก ถ้ามีไฟสีแดงโชว์ตำแหน้ง UB (UNBALANCE PHASE) แสดงว่าแรงดันไฟฟ้ามาไม่ครบเฟสหรือไม่สม่ำเสมอ

วิธีการแก้ไขเบื้องต้น ปั๊มน้ำไม่ทำงาน ที่สามารถตรวจเช็คและแก้ไขได้เอง

  1. เช็คระดับน้ำในบ่อเก็บถ้าน้ำขาดให้รอจนกว่าน้ำเต็มถึงระดับที่ตั้งไว้
  2. เช็คสวิทซ์เบรคเกอร์ให้อยู่ในตำแหน่ง ON  ถ้ายังไม่สามารถเดินเครื่องไฟ้ให้ติดต่อการไฟฟ้า
  3. เช็คหลอดฟิวส์และวัดความต้านทาน
  4. ตรวจเช็คปั๊มตัวที่ 1 หรือ 2 ที่มีปัญหาว่าเกิดจากสาเหตุใดและเมื่อตรวจเช็คแก้ไขเสร็จแล้วให้ RESET OVERLOAD
  5. ตรวจสอบชุดป้องกันเฟสภายในตู้คอนโทรล , วัดแรงดันไฟฟ้า , เช็คว่าแรงดันไฟฟ้ามาครบทั้ง 3 เฟสหรือไม่และเช็ค FUSE F1,F2,F3 ขาดหรือไม่

ก่อนเรียกหน่วยบริการควรตรวจสอบเบื้องต้นตามหัวข้อดังกล่าวก่อน

  1. สัญญาณไฟแสดงสิ่งผิดปกติหรือไม่ ALARM , LOW LEVEL
  2. กระแสไฟฟ้าดับหรือไม่
  3. มีฟ้าผ่าหรือไม่
  4. มีผู้ใดไปทำการตรวจซ่อม/แก้ไขหรือไม่

ข้อควรระวัง

  1. ห้ามปิดวาล์วด้านดูด (Suction) ขณะทำงานเด็ดขาด
  2. ปิดสวิทซ์ก่อนตรวจเช็คมอเตอร์ / ปั๊มน้ำทุกครั้ง
  3. เมื่อมีอาการผิดปกติควรเรียกช่างผู้ชำนาญตรวจซ่อม
  4. ห้ามปล่อยลมในถังไดอะแฟรมออกและควรมีการตรวจลมในถัง (Pressure Tank) เป็นประจำทุกๆ 6 เดือน
  5. ไม่ควรปรับแต่งส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบโดยขาดข้อมูลหรือช่างผู้ชำนาญ