เคยเจอปัญหาเรื่องน้ำไหม ทั้งในเรื่องของน้ำไหลช้า ไหลเบา และไม่มีน้ำเลย และนั่น! ทำให้คุณมีปัญหาอย่างมาก ยิ่งเฉพาะธุรกิจ ห้องเช่า คอนโด อพาร์ทเม้นท์ หรือธุรกิจที่มีอาคารสูง ทำให้คุณต้องหงุดหงิดกับปัญหาทั้งหมดนี้ และต่อจากนี้ คุณจะไม่ต้องหงุดหงิดอีกต่อไป ถ้าคุณมาทำความรู้จักกับอุปกรณ์ชนิดนี้ ที่บอกได้เลยว่า มันเป็นสิ่งที่สำคัญต่อคุณเป็นอย่างมาก เพราะคุณจะไม่ต้องทนฟังเสียงบ่นอีกต่อไป เอาหล่ะ เรามาหาคำตอบจากบทความ Transfer Pump กับหลักการทำงานของระบบ ที่ควรรู้ กันเลยครับ
Transfer Pump ทรานเฟอร์ปั๊ม หลักการทำงาน
คือ การเติมน้ำจากต้นทางไปปลายทางอาศัยความต่างระดับของระดับน้ำนำมาควบคุมการทำงานโดยใช้ก้านอิเล็กโตรด (Electrode) ซึ่งรับสัญญาณโดย Float Less Level Relay ระบบ ทรานเฟอร์ปั๊ม เป็นการควบคุมใช้ปั๊มเพียงตัวเดียว หรือ 2 ตัวก็ได้ แต่คอนโทรล 2 ปั๊มต้องมี Function การสลับการทำงานของปั๊มน้ำด้วย โดยส่วนมากในชุด มักจะประกอบด้วยปั๊ม 2 ตัวในอาคาร ขนาดเล็ก หรือ 3 ตัวในกรณีอาคารขนาดใหญ่ และฟังก์ชันในการทำงานปั๊มทำงานสลับกันเมื่อมีการใช้น้ำ ไม่มากและปั๊มทำงานเสริมกันในกรณีที่ความต้องการใช้น้ำของอาคารมีมากจนปั๊มตัวแรกจ่ายน้ำไม่ทัน ปั๊มตัวที่สองต้องทำงานช่วย ซึ่งตัวที่ควบคุมการทำงานของชุด ทรานเฟอร์ปั๊ม มักใช้ลูกลอยไฟฟ้าหรือก้านอิเล็กโตรดในการตัดต่อการทำงานของปั๊ม
คุณลักษณะเด่น
- สามารถนำไปติดตั้งเข้ากับท่อจ่ายน้ำขึ้นอาคารได้เลย
- ลดเวลาในการติดตั้งอุปกรณ์
กว่าจะเป็น Transfer pump ก็ต้องมีอุปกรณ์อื่นๆ ด้วย แล้วมีอะไรบ้าง
ตู้คอนโทรล Cold water pump
ตู้ควบคุม (Cold Water Pump Controller) เป็นไฟ 380V/50HZ ขั้นตอนการทำงานของตู้มี 2 วิธี คือ
- ระบบบังคับด้วยมือ (Manual)
- ระบบ Auto
ระบบการทำงานของตู้ควบคุม
ระบบบังคับด้วยมือ (MANUAL)
เมื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าจากภายนอกมายังตู้ควบคุมจะมีไฟโชว์ที่หลอดไฟ เมื่อต้องการให้ปั๊มตัวที่ 1 ทำงานให้บิดสวิทซ์ลูกศรของปั๊มน้ำตัวที่ 1 ไปที่ตำแหน่ง MANUAL (SHI) กดปุ่ม START(STI) ปั๊มน้ำจะทำงานและมีไฟโชว์ที่หลอด RUN(L3) และเมื่อต้องการให้ปั๊มน้ำตัวที่ 1 หยุดทำงาน ให้กดปุ่ม STOP(SPI) ปั๊มน้ำตัวที่ 1 จะหยุดทำงานทันทีและไฟที่โชว์ที่หลอด RUN(L3) จะดับไปด้วย เมื่อต้องการให้ปั๊มน้ำตัวที่ 2 ทำงาน ให้ทำวิธีเดียวกับปั๊มน้ำตัวที่ 1
ระบบอัตโนมัติ (AUTO)
เมื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าจากภายนอกมายังตู้ควบคุมจะมีไฟโชว์ที่หลอด ให้บิดสวิทซ์ลูกศรของปั๊มน้ำทั้ง 2 ตัว มาตำแหน่ง Auto ปั๊มน้ำทั้ง 2 ตัวจะทำงานอัตโนมัติ การทำงานของปั๊มน้ำแต่ละตัวจะมีไฟโชว์ที่หลอด RUN ปั๊มน้ำจะทำงานสลับกันเมื่อได้รับสัญญาณจาก ELECTRODE(E3) บ่อบนดาดฟ้าและทำงานพร้อมกันจาก ELECTRODE(E4) บ่อบนดาดฟ้า และปั๊มน้ำจะหยุดเองเมื่อระดับน้ำถึง ELECTRODE(E2) บ่อบนดาดฟ้า
แต่อุปกรณ์นี้ ก็ยังมีข้อควรระวังที่ควรต้องรู้ไว้ด้วย
- ถ้าไฟโชว์ที่หลอด GROUND TANK LOW LEVEL ปั๊มน้ำจะไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากระดับน้ำในถังเก็บน้ำต่ำกว่าระดับที่กำหนด ต้องรอให้ระดับน้ำสูงถึงขาสตาร์ทที่กำหนด ELECTRODE
- ไฟโชว์ที่หลอด OVERLOAD 1, 2 ปั๊มน้ำจะไม่สามารถทำงานได้ เนื่องปั๊มน้ำได้รับโหลดหรือภาระเกินกำลัง ต้องทำการตรวจเช็ดแก้ไข จึงมาทำการ RESET ที่ตัว OVERLOAD ภายในตู้คอนโทรล
ในบทความต่อไป จะพาไปขยายความเกี่ยวกับตู้คอนโทรล Cold water pump ฝากติดตามข่าวสารกันด้วยนะครับ
เอาหล่ะมาถึงสิ่งที่ควรต้องรู้อีกอย่างนั่นก็คือวิธีการดูแลบำรุงรักษา ซึ่งในเมื่อเราติดตั้งอุปกรณ์นี้ไปแล้วเราก็ควรที่จะต้องรู้วิธีการดูแลรักษาเพื่อให้อุปกรณ์นี้ใช้งานไปได้ยาวๆและไม่ต้องมาหงุดหงิดในกรณีที่เราเจอปัญหาด้วยนะ
วิธีการดูแลบำรุงรักษาสามารถสังเกตและเช็คค่าต่างๆ ได้ดังนี้
- การทำงานของ Controller ว่าทำงานผิดปกติหรือไม่ เช่น
- ทุกครั้งที่ตรวจเช็ค หลอดไฟหน้าตู้จะต้องมีไฟโชว์ตลอด หรือไฟ Overload แสดงว่าปั๊มมีปัญหา ให้รีบทำการตรวจเช็คโดยด่วน
- ฟังเสียงมอเตอร์ว่ามีเสียงผิดปกติหรือไม่
- สังเกต Seal ที่คอปั๊มว่ามีน้ำรั่วซึมหรือไม่
สรุปรวมๆแล้วก็เพื่อ ทำให้ปั๊มมีอายุการใช้งานได้ยาวนานขึ้น และไม่ต้องหยุดทำงานเพื่อซ่อมแซมปั๊มปั๊มบ่อยๆ แต่ควรจะมีการจัดทำตารางประวัติการใช้งาน, บำรุงรักษา, ตารางเวลาเวลาสำหรับการตรวจสอบประจำวัน ตรวจสอบทุกๆ 6 เดือน ตลอดจนประจำปี เพื่อไว้ใช้เป็นคู่มือสำหรับเช็คให้กับคุณเองด้วย